บริการ "กันยาคลินิกกายภาพบำบัด"

สาขาสิรินธร สาขาเหม่งจ๋าย สาขาอุดมสุข สาขาซีเนียร์กันยา สาขาประชาชื่น สาขาพญาไท สาขาเจริญราษฎร์ สาขาเพชรเกษม สาขานครอินทร์ สาขามีนบุรี
กายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

การรักษาด้วยเทปสี (Kinesiotape)

Kinesiotape เป็น elastic tape โดยมีลักษณะเป็นคลื่นเหมือนลายนิ้วมือ ซึ่งเปรียบเสมือนมือของผู้รักษาที่ช่วยพยุงในส่วนที่มีปัญหา เทปมีผลช่วยกระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อและมีผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย  สามารถใช้รักษาการบาดเจ็บในระยะฉับพลัน (Acute, Sub acute) หรือระยะฟื้นฟู (Rehabilitation) และระยะเรื้อรัง (Chronic) ได้

กลไก

   Kinesiotape มีผลต่อระบบในร่างกาย ดังนี้

1. ผิวหนังและเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (Skin and Fascia) ผลของเทปทำให้เกิดการยกตัวขึ้นของชั้นผิวหนัง (Decompress) เพื่อให้เกิดช่องว่างในการแลกเปลี่ยนสารน้ำบริเวณนั้น ซึ่งช่วยลดการอักเสบบริเวณนั้นได้

2. ระบบไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง (Circulatory and Lymphatic systems) ช่วยเพิ่มการแลกเปลี่ยนสารน้ำระหว่างเนื้อเยื่อแต่ละชั้น ทำให้อาการบวมและอาการปวดลดลง

3. กล้ามเนื้อ (Muscle) ช่วยเพิ่มมุมการเคลื่อนไหว และช่วยให้เนื้อเยื่อฟื้นตัวจากการบาดเจ็บเร็วขึ้น

4. ข้อต่อ (Joint) มีผลช่วยลดแรงเฉือนในข้อ (Shear force) ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆข้อเสียหายลดลง ส่งเสริมการทำงานของเอ็นยึดกระดูก (Ligament) และเอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon)

เทคนิค

เทคนิคในการติดเทปมีหลากหลาย โดยขึ้นกับผลที่ต้องการในการรักษา เช่น เทคนิคในการติดเพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ เทคนิคในการติดเพื่อลดบวม หรือติดเพื่อปรับโครงสร้างให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ โดยผลการรักษาจะเกิดขึ้นตั้งแต่ติดเทปจนกระทั่งเอาเทปออก ซึ่งปกติส่วนใหญ่จะติดประมาน 2-3 วัน

ข้อบ่งชี้ในการใช้

1. ภาวะกล้ามเนื้อไม่สมดุล (Muscle imbalance)

2. ภาวะโครงสร้างผิดปกติ (Postural insufficiency)

3. ระบบไหลเวียนเลือดและระบบน้ำเหลืองผิดปกติ (Circulatory and lymphatic conditions)

4. เอ็นข้อต่อและเอ็นกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ (Ligament, tendon and joint injuries)

5. มีการยึดติดของพังผืด (Fascial adhesions and scars)

6. การเคลื่อนไหวผิดปกติ (Pathological movement pattern)

7. ความผิดปกติทางระบบประสาท (Neurological conditions)

ข้อห้าม

1. มะเร็งระยะลุกลาม (Active malignancy site)

2. บริเวณเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ หรือบริเวณที่ผิวหนังติดเชื้อ (Active cellulitis or skin infection)

3. บริเวณแผลเปิด (Open wounds)

4. ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep Vein Thrombosis)

ข้อควรระวัง

1. โรคเบาหวาน (Diabetes)

2. โรคไต (Kidney Disease)

3. โรคหัวใจ (Congestive Heart Failure)

4. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)

5. บริเวณผิวหนังที่เปราะบาง หรือผิวหนังที่กำลังซ่อมแซม (Fragile or Healing skin)

6. ตั้งครรภ์ (Pregnancy)