Manipulation
การให้แรงด้วยอัตราเร็วสูงโดยมีช่วงกดที่สั้นต่อกระดูกสันหลังและข้อต่อในช่วงการเคลื่อนไหวที่มากกว่าการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทางกายภาพ แต่ยังคงอยู่ภายใต้ช่วงการเคลื่อนไหวปกติของข้อกระดูกที่สามารถขยับได้ (McKenzie 1989) กล่าวคือ “เป็นการเคลื่อนไหวแบบทันทีด้วยความเร็วสูงในระยะสั้นในช่วงสุดท้ายของการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกในตำแหน่งที่มีการติดขัด”
กลไกและประโยชน์
1. ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของโครงสร้าง เพื่อลดการติดขัดในการเคลื่อนไหวจากสมมติฐานว่าการติดขัดของข้อต่อนั้นเกิดจากการเรียงตัวที่ผิดปกติ
2. ทำให้เกิดความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบข้อต่อ เกิดทำลายการยึดเกาะของเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้น้อยให้เกิดการจัดเรียงตัวใหม่ เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นของโครงสร้างที่ถูกยืด
3. กระตุ้นการทำงานของเซลล์เพื่อเพิ่มอัตราการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ
4. ทำให้เกิดความร้อนภายในเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่อมีความอ่อนนุ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้นักกายภาพบำบัดสามารถยืดเนื้อเยื่อในเทคนิคอื่นๆหลังการทำ Manipulation ได้ง่ายขึ้น
5. ลดความเจ็บปวดของข้อต่อเนื่องจากการผ่อนคลายความเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
ข้อบ่งชี้
1. ความเจ็บปวดของข้อต่อ
2. ข้อต่อติดขัด
ข้อห้าม
1. อาการบ่งชี้ว่าการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดง Vertebro-basillar ถูกขัดขวาง
2. กระดูกเคลื่อน
3. ผู้ที่มีประวัติการใช้ยาละลายลิ่มเลือด
4. ผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง
5. ผู้ที่มีความกังวล ไม่ผ่อนคลาย
6. ช่องทางเดินรากประสาทเล็กลงชัดเจน
7. หมอนรองกระดูกเลื่อนหลุดอย่างรุนแรง
ข้อควรระวัง
1. หญิงตั้งครรภ์
2. ภาวะข้อต่อเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ
*การเกิดเสียงไม่ใช่จุดมุ่งหมายในการทำ เพียงแต่เป็นการระเบิดของก๊าซไนโตรเจนในข้อต่อซึ่งมีผลทำให้เกิดความไม่มั่นคงของข้อต่อได้